วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 ^ ^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (8 มีนาคม  2555)

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่มอบหมายสัปดาห์ที่แล้ว คือ Big   Book  และบัตรคำ  

- อาจารย์ได้ตรวจของนักศึกษาทุกกลุ่มและให้นำไปแก้ไขส่งภายในวันพรุ่งนี้ก่อนบ่าย 3 โมง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 ^ ^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (1 มีนาคม 2555)


- อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอผลงานทุกกลุ่มและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ในการรายงานหรือนำเสนอผลงาน 
 
*** งานที่ได้รับมอบหมาย ***
 
- ให้นำกระดาษที่อาจารย์แจกให้ในแต่ละกลุ่มไปทำหนังสือ Big  Book ในหัวข้อมันคืออะไร   และบัตรคำ  ให้นักศึกษาส่งในสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 ^ ^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (23 กุมภาพันธ์ 2555)


- อาจารย์ได้ให้นักศึกษา Present งานที่ให้เด็กตัดแปะลงกระดาษ ในหัวข้อตัวอย่างคือเธอชอบกินอะไร  
 
- อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในเรื่อง การรายงานหน้าชั้นเรียน  การที่สังเกตเด็กและการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเด็ก  และการเขียนข้อความหรือบทความต้องให้ตรงกับรูปภาพที่เด็กและเราตัดแปะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 ^ ^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 (18 กุมภาพันธ์ 2555)

- อาจารย์ได้แจกกระดาษเพื่อให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้หนึ่งรูป   เพื่อทำกิจกรรม รูปภาพเชื่อมคำ วาดรูปแทนคำ พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่าทางประกอบ    ทำท่าทางของเพื่อนแล้วทำของตัวเองเด็กจะได้การจำ การสังเกต การฟัง เวลาที่จะสอนให้เด็กรู้จักคำว่าขอบคุณ ขอโทษ เราจะใช้สื่ออะไรได้บ้าง เช่นใช้บทเพลงเป็นสื่อ และ เด็กใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกตลอดจนการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา ดังกล่าว ดังทัศนะของภาษารวมหรือการเรียนภาษาโดยธรรมชาติ  

ซึ่งได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายการสอนภาษาไว้ดังนี้ 

1. จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสารอย่างมีความหมาย
2. จุดมุ่งหมายการฟังและประสบการณ์การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
3. จุดมุ่งหมายการพูดและประสบการณ์การเขียนเน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย

- พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 ^ ^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (16 กุมภาพันธ์ 2555)

-อาจารย์ได้อบรมเรื่องการแต่งกาย การให้ความร่วมมือต่อส่วนรวม และความสามุคคี
-อาจารย์ได้บอกอีกว่า " การพัฒนาตนเองต้องมีการศึกษานอกห้องเรียนด้วย "
-อาจารย์ได้ตรวจบล๊อก เพื่อดูความคืบหน้า และแนะนำการใส่เนื้อหา
-อาจารย์บอกว่าการใช้วรรณกรรมเป็นพื้นฐานจะช่วยให้เด็กมีคุณธรรมด้านอิทธิบาท 4
อิทธิ   1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
           2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
           3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
           4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

ฉันทะ : ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
           อันดับแรกต้องสำรวจตนเองว่า มีความชอบหรือศรัทธางานด้านใด แล้วมุ่งไปในเส้นทางนั้น อาจเริ่มต  ฉันมีความสุขหรือไม่หากงานที่ทำอยู่ไม่ใช่งานที่รักเสียทีเดียว เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่

วิริยะ : ขยันหมั่นเพียรกับงานที่มี
           งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะจึงเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้ ยิ่งคุณขยันเท่าไรผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรักในงานจากฉันทะนั่นเอง และความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเองต่างหาก

จิตตะ : เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ           จิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ จิตตะเป็นธรรมะที่แสดงถึงสติ ความรอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้ มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน และขัดขาจนลืมคิดไป งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือสิ่งใดกันแน่ จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว จิตตะจะเป็นเสมือนรั้ว
วิมังสา : การพินิจพิเคราะห์และใช้ปัญญาตรวจสอบงาน           สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสา แปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่นเพียงใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างและผิดพลาดจนได้

  *** งานที่ได้รับมอบหมาย  ***       เราอาจลองทบทวนตัวเองนิ่ง ๆ ว่าวันนี้ทั้งวันเราทำอะไรบ้าง สรุปกับตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เราจ
-อาจารย์ให้ทำปริศนาคำทายกลุ่ม 4  คน โดยอาจารย์มีตัวอย่างมาให้ดู

ตัวอย่าง
การสร้างภาพปริศนาคำทาย1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 ^ ^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 (9 กุมภาพันธ์ 2555)


*** หมายเหตุ ***

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นกิจกรรมกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 ^ ^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (2 กุมภาพันธ์ 2555)

วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว



คัดลอกมาจาก นางสาวดาราวรรณ นาวงศ์ เนื่องจาก ไม่ได้มาเรียน